วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


แก๊ส หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ก๊าซ (อังกฤษ: gas) เป็นสถานะหนึ่งของสสาร (อันได้แก่ของแข็ง ของเหลว แก๊ส และพลาสมา) ซึ่งจะกลายเป็นของแข็งได้เมื่ออุณหภูมิลดลง อ่านเพิ่มเติม



        ของเหลว (อังกฤษ: Liquid) เป็น สถานะ ของ ของไหล ซึ่ง ปริมาตร จะถูกจำกัดภายใต้สภาวะคงที่ของ อุณหภูมิ และ ความดัน และรูปร่างของมันจะถูกกำหนดโดยภาชนะที่บรรจุมันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นของเหลวยังออกแรงกดดันต่อภาชนะด้านข้างและบางสิ่งบางอย่างในตัวของของเหลวเอง ความกดดันนี้จะถูกส่งผ่านไปทุกทิศทาง อ่านเพิ่มเติม




             ของแข็ง (อังกฤษ: solid) เป็น สถานะ ของ สสาร ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ที่สามารถทนและต้านทานต่อการเสียรูปทรง และการเปลี่ยนแปลงในปริมาตรของตัวมันเอง มีการจัดเรียงตัวของอนุภาคองค์ประกอบใกล้ชิดกัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีค่ามาก อนุภาคของแข็งจึงเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่จะสั่นไปมาได้เล็กน้อย เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อยมาก ของแข็งจึงไหลไม่ได้เหมือนของเหลว และอัดไม่ได้เหมือนแก๊ส  อ่านเพิ่มเติม


วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ปริมาตรต่อโมลของก๊าซ

ปริมาตรต่อโมลของก๊าซ


                  โซเซฟ-ลุย เกลูซัก นักเคมีชาวฝรั่งเศษ ได้ตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับความดันของก๊าซโดยกล่าวว่า ที่ปริมาตรและจำนานโมลของก๊าซคงที่ ความดันของก๊าซจะแปรผันตรงต่ออุณหภูมิสัมบูรณ์ นอกจากนั้นเกลูซักให้กฎการรวมปริมาตร โดยกล่าวว่า ที่ภาวะอุณหภูมิและความดันเดียวกัน ปริมาตรของก๊าซที่เข้าทำปฏิกิริยาจะเป็นอัตราส่วนเลขจำนวนเต็มที่มีค่าต่ำ เช่น ที่ภาวะอุณหภูมิและความดันเดียวกัน ก๊าซ CO 10 dm3 ทำปฏิกิริยากับก๊าซ  O2 5 dm3 ให้ก๊าซ CO2 10 dm3 หรือ 2 ปริมาตรของ CO ทำปฏิกิริยากับ 1 ปริมาตรของ O2 ให้ 2 ปริมาตรของ CO2  กฎการรวมปริมาตรของก๊าซนั้น จอห์นดอลตันไม่เห็นด้วย เพราะขัดแย้งกับทฤษฎีอะตอมของดอลตันอย่างไรก็ตามข้อขัดแย้งระหว่างดอลตันกับเกลูซักหาข้อยุติได้ โดยนักฟิสิกส์ชาวอิตาลีชื่ออาเมเดโอ อาโวกาโดร ซึ่งให้สมมติฐานของอาโวกาโดร โดยกล่าว ภายใต้ภาวะอุณหภูมิและความดันเดียวกัน ปริมาตรของก๊าซที่เท่ากันจะมีจำนวนอนุภาคเท่ากันที่ภาวะมาตรฐานกำหนดให้มีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ STP ซึ่งมาจาก Standard Temperature และ Pressure นั้น จากการทดลองพบว่า ก๊าซไฮโดรเจน 2 g มีปริมาตร 22.4 dm3 ก๊าซออกซิเจน 22.4 dm3 ที่ STP มีมวล 32.0 g จึงกล่าวสรุปได้ว่าที่ STP ปริมาตรของก๊าซ 22.4 dm3 จะมีมวลเท่ากับ 1 โมลของก๊าซที่มีหน่วยเป็นกรัม ปริมาตรที่กล่าวถึงนี้คือ ปริมาตรต่อโมลของก๊าซหรือปริมาตรโมลาร์ (Molar volume)


                        ปริมาตรต่อโมลของก๊าซคำนวณได้จากสูตร PV = nRT
 เมื่อ                  P เป็นบรรยากาศมีค่าเท่ากับ 1atm
                         n เป็นจำนวนโมลมีค่าเท่ากับ 1 โมล
                         V เป็นปริมาตรต้องการหา
                         T เป็นอุณหภูมิสัมบูรณ์มีค่าเท่ากับ 273 K

                           R เป็นค่าคงที่มีค่าเท่ากับ 0.082   ------------
 
                                                จาก                 PV     =     nRT แทนค่าที่รู้
 
                                                1 atm * V        =     1 mol * 0.082  --------------  * 273 K
                                                V        =     22.4 dm3